ในงานก่อสร้างประเภทต่าง ๆ คอนกรีตถือเป็นวัสดุหลักในการสร้างโครงสร้างที่แข็งแรงเลยทีเดียว แต่เคยสงสัยไหมว่าคอนกรีตผสมเสร็จ คืออะไร และแตกต่างจากคอนกรีตประเภทอื่นอย่างไร วันนี้ เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับคอนกรีตผสมเสร็จ พร้อมบอกประโยชน์และความแตกต่าง เพื่อให้คุณได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานก่อสร้างของคุณ
คอนกรีตผสมเสร็จคืออะไร
คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready-Mixed Concrete) คือคอนกรีตสำเร็จรูปที่ทางโรงงานผลิตได้คิดค้นสูตร และผสมมาแล้วเรียบร้อย เพื่อให้ได้คุณภาพและสัดส่วนที่เหมาะสำหรับงานก่อสร้างประเภทต่าง ๆ โดยจะประกอบไปด้วยส่วนผสมคอนกรีต เช่น ปูนซีเมนต์ ทรายก่อสร้าง หินก่อสร้างและน้ำ เป็นต้น
โดยคอนกรีตชนิดนี้ ผสมเสร็จมาจากโรงงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตลอดระยะเวลาการขนส่งก็จะมีรถกวนคอนกรีตคอยกวนหรือผสมเนื้อคอนกรีตให้เข้ากันอยู่ตลอดระยะเวลาการขนส่ง เพื่อรักษาคุณภาพของคอนกรีตให้สามารถใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาผสมคอนกรีตเอง
คอนกรีตผสมเสร็จมีกี่ประเภท
เนื่องจากเป็นคอนกรีตผสมเสร็จที่ทางโรงงานคิดค้นสูตรขึ้นมา จึงสามารถแบ่งออกได้หลากหลายประเภท ตามการใช้งาน ความแข็งแรงและทนทานในงานที่ต้องการได้ดังนี้
1. คอนกรีตผสมเสร็จแบบมาตรฐาน
เหมาะสำหรับงานโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เสา ฐานราก หรือคาน ที่สามารถรับน้ำหนักได้เยอะ
2. คอนกรีตผสมเสร็จแบบกันซึม
เหมาะสำหรับงานก่อสร้างที่ต้องสัมผัสกับความชื้น เช่น สระว่ายน้ำ พื้นห้องน้ำ ถังเก็บน้ำ เป็นต้น เป็นสูตรคอนกรีตผสมที่ถูกออกแบบมาให้มีลักษณะทึบน้ำ จึงมีคุณสมบัติทำให้น้ำไหลผ่านได้ยาก
3. คอนกรีตผสมเสร็จแบบสี
เหมาะสำหรับการใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องการความสวยงาม เช่น ทางเดินเท้า ลานกว้าง เป็นต้น เพราะคอนกรีตประเภทนี้ มีการผสมสีที่ต้องการมาแล้วในตัว สามารถเทลงบนพื้นได้เลย
4. คอนกรีตผสมเสร็จแบบพรุน
เหมาะสำหรับงานก่อสร้างถนน หรือพื้นที่ที่จำเป็นต้องระบายน้ำได้ดี เนื่องจากคอนกรีตผสมเสร็จแบบพรุนจะมีช่องว่างภายในตัวคอนกรีตอยู่ ซึ่งมีคุณสมบัติระบายน้ำได้ดี ไม่อุ้มน้ำ
5. คอนกรีตผสมเสร็จแบบผิวเรียบ
เหมาะสำหรับงานที่ต้องโชว์พื้นผิวของชิ้นงาน เช่น เสา หรือตอม่อ โดยมีคอนกรีตผสมเสร็จแบบผิวเรียบ มีคุณสมบัติที่สามารถทนทานต่อสภาพอากาศได้ดี รวมทั้งมีความแข็งแรง สามารถรองรองรับน้ำหนักได้ดี
6. คอนกรีตผสมเสร็จสำหรับงานใต้น้ำ
เหมาะสำหรับงานก่อสร้างที่ต้องนำชิ้นงานลงไปใต้น้ำ หรือมีการสัมผัสกับน้ำตลอดเวลา จึงมีลักษณะเนื้อหนืดและจับตัวเข้ากันได้ดี หากใช้คอนกรีตที่ไม่ได้ถูกคิดค้นมาเพื่องานประเภทนี้โดยเฉพาะ อาจทำให้สึกหรอและถูกกัดกร่อนได้ง่าย
7. คอนกรีตผสมเสร็จสำหรับงานชายฝั่งทะเล
เหมาะสำหรับงานก่อสร้างที่สัมผัสโดนน้ำทะเลโดยตรง เนื่องจากในน้ำทะเลจะมีความเค็ม รวมทั้งมีคลอไรด์และซัลเฟต ซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อนทำให้ชิ้นงานถูกกัดกร่อนได้ง่าย
8. คอนกรีตผสมเสร็จสำหรับงานเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก
เหมาะสำหรับงานโครงสร้างเจาะเสาเข็มขนาดเล็กที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 35 – 60 เซนติเมตรเท่านั้น เนื้อคอนกรีตผสมเสร็จสำหรับงานเสาเข็มเจาะนี้ จะมีลักษณะจับตัวกันได้ดี จึงสามารถรองรับน้ำหนักได้เยอะ
ประโยชน์ของคอนกรีตผสมเสร็จ
นอกจากจะมีสูตรผสมที่เหมาะสำหรับงานก่อสร้างแต่ละประเภทแล้ว คอนกรีตผสมเสร็จก็มีประโยชน์อีกมากมายที่เหมาะสำหรับการใช้ในงานก่อสร้าง ดังนี้
- รับประกันคุณภาพ คอนกรีตผสมเสร็จจากโรงงาน จะได้รับการควบคุมคุณภาพและความแม่นยำของแต่ละสูตรให้เหมาะสำหรับงานก่อสร้างแต่ละประเภทมาแล้ว
- สะดวก ไม่ต้องเสียเวลาผสมคอนกรีตเอง เพราะคอนกรีตผสมเสร็จถูกกวนผสมมาตั้งแต่ที่โรงงานผลิตแล้ว เมื่อถึงหน้างานก็สามารถเทคอนกรีตได้เลย นอกจากนี้ ยังสามารถคำนวณปริมาณในการใช้ได้ โดยไม่ต้องผสมเผื่อเหลือหรือเผื่อขาด
- ปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากการสูดดมละอองและฝุ่นจากวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยของคนหน้างาน
- ควบคุมต้นทุนได้ เพราะการสั่งคอนกรีตผสมเสร็จสามารถคำนวณปริมาณในการใช้แต่ละคิว และสามารถสอบถามราคาได้ทันที
คอนกรีตผสมเสร็จแตกต่างจากคอนกรีตผสมเองยังไง
คอนกรีตผสมเสร็จ
- คุณภาพ คอนกรีตผสมเสร็จผลิตในโรงงานที่มีผู้เชี่ยวชาญควบคุมโดยเฉพาะ ทำให้ได้คุณภาพที่สม่ำเสมอ ในกรณีผสมคอนกรีตเอง อาจจะมีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ เพราะไม่สามารถประมาณสัดส่วนที่เหมาะสมได้
- ระยะเวลา เพราะคอนกรีตผสมเสร็จจากโรงงาน เมื่อมาถึงหน้างานสามารถเทและใช้งานได้เลยทันที ในกรณีคอนกรีตผสมเอง อาจต้องเตรียมทั้งอุปกรณ์และวัสดุก่อสร้างในการผสมเนื้อคอนกรีตเข้าด้วยกัน ซึ่งจะใช้ระยะเวลาและแรงงานที่เยอะกว่า
- ค่าใช้จ่าย ในกรณีที่ต้องการใช้คอนกรีตในปริมาณที่เยอะมาก การสั่งคอนกรีตสำเร็จรูปมาที่หน้างานพร้อมรถผสมคอนกรีต ก็จะได้ราคาที่ประหยัดมากกว่าการผสมคอนกรีตเอง เพราะไม่มีค่าใช้จ่ายแฝง เช่น ค่าแรงงาน ค่าวัสดุและค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น
คอนกรีตผสมเอง
- คุณภาพ การผสมคอนกรีตเอง อาจจะมีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ เพราะไม่สามารถประมาณสัดส่วนที่เหมาะสมได้
- ระยะเวลา ในกรณีคอนกรีตผสมเองเพื่อใช้ในงานก่อสร้างเอง อาจต้องเตรียมทั้งอุปกรณ์และวัสดุก่อสร้างในการผสมเนื้อคอนกรีตเข้าด้วยกัน ซึ่งจะใช้ระยะเวลาและแรงงานที่เยอะกว่า
- ค่าใช้จ่าย หากต้องผสมเองก็จะมีค่าใช้จ่ายแฝงอื่น ๆ ตามมา เช่น ค่าแรงงาน ค่าวัสดุและค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น จึงเหมาะกับงานที่ใช้จำนวนคอนกรีตในปริมาณน้อย
คอนกรีตผสมเสร็จเหมาะสำหรับงานประเภทไหนบ้าง
ทำความรู้จักกับคอนกรีตผสมเสร็จไปกันแล้วว่าคืออะไร มีกี่ประเภท รวมทั้งเปรียบเทียบความแตกต่างของคอนกรีตสำเร็จกับการผสมคอนกรีตเองไปกันแล้ว มาดูกันว่าแล้วคอนกรีตแบบผสมมาจากโรงงานเสร็จแล้ว เหมาะสำหรับการใช้งานในประเภทไหนบ้าง
- งานโครงสร้าง ที่ต้องการความแข็งแรง ทนทานและสามารถรองรับน้ำหนักได้เยอะ ๆ เช่น อุโมงค์ ท่าเรือ ถนน สะพาน หอคอย สนามกีฬา รวมทั้งโครงสร้างใต้น้ำและสิ่งก่อสร้างใต้ดินด้วย
- อาคารและตึก รวมถึงบ้านและคอนโดด้วย โดยคอนกรีตผสมเสร็จมีคุณสมบัติที่เหมาะสำหรับการเทสร้างฐานราก เช่น เสา คาน และพื้น ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องการความแข็งแรง และสามารถรองรับน้ำหนักได้เยอะ
จะเห็นว่าคอนกรีตสำเร็จรูปนี้เหมาะสำหรับงานก่อสร้างที่ส่วนมากต้องรองรับน้ำหนักเยอะ ดังนั้น การเลือกใช้คอนกรีตผสมเสร็จในงานเหล่านี้ช่วยให้มั่นใจในคุณภาพ ความแข็งแรง ประหยัดเวลา และยังลดความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้นบริเวณหน้างานอีกด้วย
วิธีคำนวณปริมาณคอนกรีตผสมเสร็จแบบง่ายๆ
การคำนวณปริมาณของคอนกรีตที่เราจะต้องใช้ก็ง่าย ๆ นิดเดียว เพราะเป็นสูตรคำนวณพื้นฐานที่สามารถใช้ในงานทั่วไปได้เลย ทั้งนี้ เราจะใช้หน่วยเรียกปริมาณคอนกรีตว่า คิว หรือคิวบิกเมตรหากต้องการจะเทคอนกรีตบนพื้น ก็สามารถวัด ความกว้าง x ความยาว x ความหนา (เมตร) ที่ต้องการ เพียงเท่านี้ก็จะได้ปริมาณคอนกรีตผสมเสร็จที่จะใช้แล้วเช่น อยากเทคอนกรีตบนพื้นที่มีความกว้าง 5 เมตร ยาว 6 เมตร และอยากให้มีความสูงหรือหนา 1 เมตรก็จะนำ 5 x 8 x 1 = ปริมาณคอนกรีตที่จะต้องใช้ 30 คิว
คอนกรีตผสมเสร็จที่ดีมาจากหิน-ทรายที่มีคุณภาพ
การใช้คอนกรีตผสมเสร็จจะช่วยเพิ่มความสะดวก และเพิ่มประสิทธิภาพในงานก่อสร้าง คอนกรีตที่ดีก็มาจากหิน-ทรายที่มีคุณภาพด้วย การเลือกวัสดุในการใช้ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ทั้งนี้ควรพิจารณาจากปัจจัยอื่น ๆ ประกอบการเลือกใช้ด้วย เช่น งบประมาณ คุณภาพที่ต้องการ เป็นต้น
สุดท้ายนี้ ไม่ว่าจะเลือกใช้คอนกรีตแบบไหน สิ่งสำคัญที่สุดคือโครงสร้างที่แข็งแรง ปลอดภัย และตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง