งานก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นอาคารสำนักงาน พื้น หรือโครงสร้างต่าง ๆ ที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน ใช้วัสดุก่อสร้างอย่าง “แผ่นพื้นสำเร็จรูป” ที่อำนวยทั้งความสะดวก และยังช่วยประหยัดเวลาในการทำงานได้เยอะขึ้นเป็นเท่าตัว นอกจากนี้ งานที่ออกมายังมีประสิทธิภาพ แข็งแรงและทนทานมาก ๆ อีกด้วย วันนี้ จำลอง กรุ๊ป จะพาคุณไปทำความรู้จักกับแผ่นพื้นสำเร็จรูปว่าคืออะไร มีกี่ประเภทและสามารถช่วยให้งานก่อสร้างมีประสิทธิภาพอย่างได้บ้าง
แผ่นพื้นสำเร็จรูปคืออะไร
แผ่นพื้นสำเร็จรูป (Pre-Stressed Concrete Slab) คือ แผ่นพื้นคอนกรีตที่ถูกผลิตขึ้นมาจากโรงงาน ให้พร้อมใช้งานและติดตั้งที่หน้างานก่อสร้างได้ โดยจะหล่อขึ้นมาจากคอนกรีตและเสริมด้วยลวด อัดด้วยแรงกำลังสูง จึงมีความแข็งแรง ทนทานและสามารถรองรับน้ำหนักได้เยอะ
โดยแผ่นพื้นสำเร็จรูปมีลักษณะถูกหล่อและอัดขึ้นมาเป็นแผ่นที่พร้อมใช้งานแล้ว ในงานก่อสร้างโครงสร้าง อย่างเช่น บ้านหรืออาคารที่อยู่อาศัย ก็สามารถนำแผ่นคอนกรีตนี้มาติดตั้งและเทคอนกรีตทับหน้าอีกรอบเพื่อเสริมความแข็งแรงได้เลย
แผ่นพื้นสำเร็จรูปมีกี่ประเภท
แผ่นพื้นสำเร็จรูปก็ถูกออกแบบ และผลิตขึ้นมาหลากหลายรูปแบบ มีคุณสมบัติซึ่งเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบกลวง
แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบกลวง (Hallow Core) คือแผ่นพื้นที่ถูกออกแบบมาให้มีรูกลวงอยู่ตรงกลาง ตามแนวยาวของแผ่นคอนกรีต นิยมใช้ในงานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องรองรับน้ำหนักเยอะ ๆ เช่น คอนโด หรืออาคารสูง เป็นต้น ทั้งนี้ แผ่นคอนกรีตแบบกลวงจะมีน้ำหนักเบาเนื่องจากรูตรงกลาง ทำให้ขนย้ายและใช้ในงานก่อสร้างได้สะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกใช้งานได้ตามความหนาและความกว้างที่ต้องการได้
2. แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบสามขา
แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบสามขา (Corrugated Planks) หรือแผ่นพื้นคอนกรีตท้องลอน โดยด้านหนึ่งจะตันและมีความเรียบ และอีกด้านหนึ่งจะมีลักษณะเป็นลอนเว้า 3 ขาเพื่อช่วยรองรับและกระจายน้ำหนักได้ดียิ่งขึ้น มีความหนาถึง 7 เซนติเมตร นิยมใช้ในงานติดตั้งพื้นที่เป็นฐาน ทำให้ไม่ต้องใช้ไม้ค้ำยันในการติดตั้ง ช่วยประหยัดงบและประหยัดเวลาในการทำงานขึ้น
3. แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบตัน
แผ่นพื้นสำเร็จรูปแบบตัน (Plank Panel) คือแผ่นพื้นคอนกรีตที่ถูกหล่อขึ้นให้มีความเรียบเนียน เหมือนกับไม้กระดาน นิยมใช้ในงานก่อสร้างโครงสร้าง หรือพื้นอาคาร ที่พักอาศัยทั่วไป ทำให้ใช้งานได้สะดวก และสามารถขนย้ายได้ง่าย ทั้งนี้ก็มีข้อควรระวังในการขนย้าย ซึ่งต้องระวังเป็นพิเศษมากกว่าแผ่นพื้นสำเร็จรูปประเภทอื่น เนื่องจาก ทั้งสองด้านมีความเรียบ จึงจำเป็นต้องใช้ไม้ค้ำช่วงพยุง เพื่อไม่ให้แผ่นคอนกรีตเกิดความเสียหายได้
ทำไมถึงต้องใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปในงานก่อสร้าง
การใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปในงานก่อสร้างมีข้อดีมากมาย ที่จะช่วยให้งานก่อสร้างง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพอีกด้วย
- มีความแข็งแรง ทนทาน เพราะแผ่นพื้นสำเร็จรูปที่ถูกผลิตจากโรงงาน จึงมั่นใจในคุณภาพได้เลยว่า มีความแข็งแรง ทนทานแน่นอน
- ประหยัดเวลาในการก่อสร้าง เนื่องจากเป็นแผ่นพื้นสำเร็จรูปที่ถูกผลิตเสร็จสิ้นมาตั้งแต่ที่โรงงานและพร้อมใช้งาน ช่วยประหยัดเวลา และสามารถติดตั้งได้ง่าย
- ประหยัดงบประมาณและค่าใช้จ่าย โดยปกติแล้ว งานก่อสร้างจะประกอบไปด้วย แรงงานคน วัสดุก่อสร้าง อุปกรณ์ ฯลฯ หากเลือกใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปก็จะช่วยประหยัดแรงงานคน ทำให้งบประมาณและค่าใช้จ่ายลดลงตามด้วย
- เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปราศจากฝุ่น และมลภาวะจากวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ
4 ขั้นตอนการติดตั้งแผ่นพื้นสำเร็จรูป
1. เตรียมพื้นที่
การติดตั้งแผ่นพื้นสำเร็จรูปจำเป็นต้องมีการเตรียมพื้นที่ให้พร้อม เริ่มตั้งแต่การปรับระดับพื้นให้เสมอกัน วางคานสำหรับติดตั้งแผ่นพื้น โดยจะต้องเตรียมคานให้เรียบเสมอกันก่อนติดตั้ง
2. วางแผ่นพื้นสำเร็จรูป
ขั้นตอนการวางแผ่นพื้นสำเร็จรูป มีข้อควรระวังเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้แผ่นคอนกรีตเกิดความเสียหาย แตกหักหรือเป็นรอย ควรเตรียมเครื่องมือสำหรับยก เช่น เครน รถเฮี๊ยบที่มีเครนยกในตัวเพื่อทำการยก และควรวางบนคานที่เตรียมไว้ในขั้นตอนแรก โดยต้องมีระยะนั่งคาน หรือแผ่นพื้นสำเร็จรูปต้องวางเกยบนคานประมาณ 5 – 7 เซนติเมตร
3. ติดตั้งเหล็กเสริม
เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง และทนทานยิ่งขึ้น สามารถนำเหล็กเสริมมาติดตั้งบนแผ่นพื้นสำเร็จรูป ก่อนเทคอนกรีตทับด้านบนอีกรอบ
4. เทคอนกรีตทับแผ่นพื้นสำเร็จรูป
มาถึงขั้นตอนสุดท้ายเพื่อการติดตั้งที่สมบูรณ์ เทคอนกรีตทับแผ่นพื้นสำเร็จรูปที่มีกำลังอัดไม่ต่ำกว่า 320 ksc. เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุดต้องบ่มคอนกรีตร่วมด้วย ซึ่งจะช่วยให้งานโครงสร้างมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ในขั้นตอนการติดตั้งนอกจากการเตรียมพื้นที่ให้พร้อมและลงมือทำแล้ว ก็ควรคำนึงถึงความปลอดภัยในการติดตั้งแต่ละขั้นตอนด้วย
แผ่นพื้นสำเร็จรูปทางเลือกที่ดีสำหรับงานก่อสร้าง
เพราะความสะดวกและง่ายในการติดตั้งจึงทำให้งานก่อสร้างนิยมนำแผ่นพื้นสำเร็จรูปไปใช้งานกัน นอกจากนี้ ยังมีขั้นตอนการติดตั้งที่ไม่ยุ่งยาก ประหยัดงบประมาณไปได้อีกเยอะเลย แถมยังได้งานที่แข็งแรง ทนทานและมีประสิทธิภาพ เพราะแผ่นพื้นสำเร็จรูปที่ดีเกิดจากหินทรายที่มีคุณภาพ