ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับใบขับขี่กัน! ใบขับขี่มีความสำคัญอย่างไร ใบขับขี่มีกี่ประเภทแต่ละประเภทมีอายุการใช้งานมากน้อยแค่ไหน ใบขับขี่รถประเภทต่างๆ มีลักษณะข้อบังคับอย่างไร วันนี้เราเอาเรื่องราวเกี่ยวกับใบขับขี่รถแต่ละประเภทมาให้คุณได้หาคำตอบแล้วอย่างละเอียด

ความสำคัญของใบขับขี่

ใบขับขี่ คือ บัตรประจำตัวที่ยืนยันว่าคนที่ขับขี่รถประเภทนั้นๆ มีคุณสมบัติครบถ้วนในการขับขี่ มีหลายประเภทแตกต่างกันไปตามประเภทของรถ และแต่ละประเภทก็มีมาตรฐานในการประเมินความสามารถแตกต่างกันไป ตามลักษณะรถและกฎหมายจรากรข้อบังคับของรถประเภทนั้นๆ 

ประเภทของใบขับขี่ในประเทศไทย

สำหรับใบขับขี่ในประเทศไทยนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

ใบขับขี่ ประเภท บ. (ส่วนบุคคล)

สำหรับใบขับขี่ประเภทนี้คือใบอนุญาตขับขี่ขนส่งสำหรับส่วนบุคคล หรือทำการขนส่งเพื่อการค้าในธุรกิจส่วนตัว มีการจำกัดน้ำหนักในการขนส่งไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม และไม่เป็นรถที่ใช้ในการรับจ้าง โดยแบ่งออกเป็น 

  ใบขับขี่รถชนิดชั่วคราว

ใบขับขี่มีกี่ประเภทกันนะ? สำหรับใบขับขี่ชนิดชั่วคราวนั้น มีอยู่ 3 แบบ คือ ใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราว, ใบขับขี่ขับรถยนต์สามล้อชั่วคราว,และใบขับขี่ขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว มีอายุในการใช้งาน 2 ปี สามารถทำได้เมื่ออายุครบ 18 ปี 

 ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล

ใบขับขี่ประเภทนี้มีอายุในการใช้งาน 5 ปี เป็นใบขับขี่ที่เอามาต่ออายุหลังจากใช้ใบขับขี่ชนิดชั่วคราวครบอายุการใช้งาน 

  ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล

ใบขับขี่ประเภทนี้คล้ายกับใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล คือมีการทำแบบชั่วคราวก่อนแล้วเมื่อครบกำหนดแล้วสามารถนำมาต่ออายุเป็นแบบ 5 ปีได้

 ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล

หลังจากได้รับใบขับขี่ชั่วคราวเป็นเวลา 1 ปี สามารถนำมาต่ออายุเป็นใบขับขี่จักรยานยนต์แบบ 5 ปีได้

 ใบขับขี่รถระหว่างประเทศ

ใบขับขี่ประเภทนี้เรียกอีกชื่อว่า ใบขับขี่สากล คือบุคคลที่มีใบขับขี่รถส่วนบุคคลอยู่แล้ว และมีสำเนาหนังสือเดินทางประกอบเพื่อยื่นเรื่องการทำใบขับขี่ประเภทนี้ มีอายุ 1 ปี ใช้ได้ในประเทศที่ยอมรับการใบขับขี่ประเภทสากล 

ใบขับขี่ระหว่างประเทศ

ใบขับขี่ประเภท ท. (ทุกประเภท)

ใบขับขี่ประเภทนี้คือการขับขี่ขนส่งที่ใช้งานได้ทุกประเภท สามารถใช้เคลื่อนย้าย ทำการขนส่งไม่จำกัดน้ำหนัก และยังใช้ในการรับจ้างได้ด้วย

 ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะหรือใบขับขี่สาธารณะ 

การใช้งานมีอายุ 3 ปี เป็นใบขับขี่สำหรับคนที่ประกอบอาชีพขับสาธารณะเช่นขับแท็กซี่บริการรถยนต์ส่วนตัวรับจ้างขนของต้องได้รับใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีและเป็นคนที่มีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลอยู่แล้วทำได้ตั้งแต่อายุ 22 ปีขึ้นไป

ใบขับขี่รถยนต์สามล้อสาธารณะ 

ใบขับขี่รถสามล้อหรือใบขับขี่ตุ๊กตุ๊กมีเงื่อนไขว่าต้องทำใบขับขี่แบบชั่วคราวก่อนแล้วก็มามีใบขับขี่ของรถยนต์มีอายุการใช้งาน 5 ปี

 ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ

ใบขับขี่ประเภทนี้ต้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์และเคยมีใบขับขี่จักรยานยนต์ส่วนบุคคลมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีเมื่อครบ 1 ปีแล้วสามารถนำต่ออายุการใช้งานให้ขยายออกเป็น 3 ปีได้

ใบขับขี่รถแทรกเตอร์

ใบขับขี่รถแทรกเตอร์นั้นผู้ขับต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ใบขับขี่มีอายุการใช้งาน 5 ปี

 ใบขับขี่รถชนิดอื่นๆ

สำหรับรถประเภทอื่นๆ เช่น รถที่ใช้ในงานเกษตรกรรมใช้ใบขับขี่ประเภทขับรถชนิดอื่นๆ มีอายุในการใช้งาน 5 ปี

ใบขับขี่แต่ละประเภทต่างกันอย่างไร

สำหรับข้อแตกต่างของใบขับขี่แต่ละประเภทนั้นคือ อายุขั้นต่ำในการขอใบขับขี่แต่ละประเภท, ขั้นตอนและเงื่อนไขในการสอบใบขับขี่ และข้อจำกัดในการใช้งานของแต่ละประเภท ดังนั้นคุณต้องรู้ก่อนว่าตัวเองต้องการขับขี่รถประเภทไหนบ้างแล้วทำใบขับขี่ให้ถูกต้องเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียค่าปรับที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต 

ใบขับขี่แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

และนี่คือเรื่องราวของใบขับขี่มีกี่ประเภทในประเทศไทยที่เอามาฝากกัน ใบขับขี่ในไทยมี 2 ประเภทใหญ่ แต่สามารถแยกย่อยได้อีกหลายประเภทแบ่งตามลักษณะของรถนั้นๆ โดยที่ขั้นตอนในการทำใบขับขี่แต่ละประเภทก็มีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับใครที่มีใบขับขี่ ท3 เพื่อขับขี่รถลากจูงหรือเคลื่อนที่อย่างถูกต้อง และถ้าหากใครต้องการสมัครขับรถ เพื่อร่วมงานกับ Jumlong เข้ามาสอบถามกันได้เลย รับรองว่าสวัสดิการดี ค่าตอบแทนดี การันตีรายได้!